พรชัยแอร์ จำหน่ายแอร์บ้าน ราคาแอร์ถูก ล้างแอร์ ย้ายแอร์ ถอดแอร์ แอร์ผ่อน พร้อมติดตั้งฟรี

บทความ

การวิเคราะห์ปัญหาระบบเครื่องปรับอากาศ

28-08-2556 13:14:05น.

บริษัท พรชัยแอร์ สาขาดอนเมือง Tel : 02-9747679, 081-5810400, 089-6840267

การวิเคราะปัญหาระบบเครื่องปรับอากาศ

การวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาในระบบเครื่องปรับอากาศ

เราจะมาวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาระบบปรับเครื่องอากาศมาเป็นข้อๆๆ นะครับ

1. การแขวนเครื่องระบายความร้อน แบบเป่าลมร้อนออกด้านข้าง

    ปัญหา      - ตำแหน่งติดตั้งเครื่องไม่เหมาะสม (เครื่องอยู่ชิดผนังอาคารมากเกินไป)

                      -  การเข้าถึงตัวเครื่องกระทำได้ยาก  (ต้นไม้ปิดปังทางเข้าและบล็อกทางลม)

                      -  ในกรณีที่การติดตั้งล้ำที่บุคคลอื่น  จะเกิดปัญหาทางกฏหมาย

ผลที่เกิดขึ้น-  เครื่องทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ  เนื่องจากการระบายความร้อนไม่ดีพอทำให้สิ้นเปลืองค่าไฟ

                      -  การบำรุงรักษา หรือซ่อมแซมทำได้ลำบาก  และอันตรายต่อช่างซ่อมเครื่อง

                      -  อาจเกิดการฟ้องร้องให้รื้อถอน  สิ้นเปลืองการจ้างช่างติดตั้ง มาติดตั้งใหม่

การแก้ไข     -  หาตำแหน่งเพื่อติดตึ้งเครื่องใหม่ เช่นดาดฟ้าหรือผนังด้านอื่นๆ ซึ่งจะทำให้เครื่องทำงานได้เต็ม

                          ประสิทธิภาพ  ประหยัดไฟขึ้น  การตรวจสอบบำรุงรักษาทำได้ง่ายขึ้น  ทำให้อายุการใช้งานของ

                          เครื่องปรับอากาศยาวนานขึ้น

แอร์บ้าน

 

2. การขาดการบำรุงรักษาการยึดเครื่องระบายความร้อน (คอมเพรสเซอร์)

  ปัญหา        -  ยางรองพื้นเครื่องระบายความร้อน (คอมเพรสเซอร์) หมดสภาพการใช้งาน

ผลที่เกิดขึ้น -  เครื่องระบายความร้อน (คอมเพรสเซอร์) เกิดการสั่นสะเทือนขณะทำงานทำให้ท่อน้ำยา

                         เสียหาย หรือเกิดการรั่วได้

การแก้ไข     -  เปลี่ยนยางรองเครื่องระบายความร้อน (คอมเพรสเซอร์) ใหม่พร้อมยึดและติดตึ้งให้เรียบร้อย

                      -  ควรมีการบำรุงรักษาเครื่องระบายความร้อน (คอมเพรสเซอร์) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจดูสภาพยางรอง

แอร์ถูก

3. ตำแหน่งการติดตั้งของคอมเพรสเซอร์

ปัญหา            -  ตำแหน่งการติดตั้งของคอมเพรสเซอร์ ในกรณีที่ติดมากกว่า 1 ตัวขึ้นไป แต่ละตัวอยู่ชิดกันมากเกินไป

ผลที่เกิดขึ้น   -  การบำรุงรักษาคอมเพรสเซอร์ทำใด้ลำบาก ลมระบายความร้อนอาจเกิดการไหลย้อนกลับทำให้

                           คอมเพรสเซอร์ระบายความร้อนไม่ออก

การแก้ไข       -  จัดวางตำแหน่งใหม่โดยให้เครื่องระบายความร้อนแต่ละตัวอย่างห่างกัน  โดยมีระยะห่างรอบตัวเครื่อง

                            ตามคำแนะนำของผู้ผลิต

แอร์

 

4. เดินท่อโดยไม่มีตัวรองรับท่อ

ปัญหา          -  ไม่มีตัวรองรับสำหรับท่อน้ำยาและท่อร้อยสายไฟ การเดินท่อน้ำยาขาดความเป็นระเบียบไม่

                        เรียบร้อย เกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของอาการและแท่นรองเครื่อง

ผลที่เกิดขึ้น   - ท่อน้ำยาเกิดการแอ่นตัว  เสียหายหรือรั่วได้จากการสั่นสะเทือนขณะเครื่องทำงาน

                      - ท่อน้ำยาเกิดการยืดและแตกร้าวได้จากทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของอาคารหรือแท่นรองเครื่อง

การแก้ไข     - ทำตัวรองรับเพื่อยึดท่อน้ำยาและท่อร้อยสายไฟให้แข็งแรง

                      - ติดตั้งเครื่องโดยใช้แท่นรองเครื่องยึดเข้ากับผนังอาการเพื่อหลักเลี่ยงปัญหาการทรุดตัว

แอร์บ้าน

 

5. ขายึดเครื่องระบายความร้อนหักชำรุด

ปัญหา           -  ทำให้กระจายน้ำหนักของเครื่องไม่เท่ากันทั้งสี่ด้าน 

                      -  ทำให้ท่อน้ำยา และสายไฟเสียหาย

                       -  เกิดสนิมที่ตัวเครื่องระบายความร้อน

ผลที่เกิดขึ้น   -  เกิดปัญหาการสั่นสะเทือนของเครื่องมากผิดปกติ  จนทำให้ท่อน้ำยารั่ว  หรือจุดยึดสายไฟตามจุด

                          ต่างๆ  หลวมหลุดออกได้เป็นผลให้เครื่องไม่สามารถทำงานได้ต่อไป

การแก้ไข        -  ทำการเชื่อมขายันเครื่องใหม่เข้าไปให้มีสภาพที่ใช้งานได้ตามปกติดังเดิมพร้อมติดตั้งยางรองเครื่อง

 

6. การเกิดเชื้อราที่ท่อน้ำทิ้ง

ปัญหา          -  การใช้ท่อน้ำทิ้งร่วมกันระหว่างเครื่องอากาศแบบแยกส่วน 2 ห้อง

ผลที่เกิดขั้น -  เกิดหยดน้ำที่ท่อน้ำทิ้งในส่วนของห้องที่ไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ เมื่ออีกห้องเปิดใช้เครื่อง

การแก้ไข     -  แยกท่อน้ำทิ้งของเครื่องปรับอากาศแต่ละตัวออกจากันเพื่อป้องกันปัญหา

                      -  ทำการหุ้มฉนวนยางที่ท่อน้ำทิ้งบริเวณที่ต่อร่วมเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดหยดน้ำ 

                      -  ทำการฉีดล้างแอร์ที่ท่อน้ำทิ้ง

  แอร์บ้าน     แอร์บ้าน

7. เกิดความควบแน่นและเป็นน้ำแข็งของท่อน้ำยา

ปัญหา           -  ท่อน้ำยารั่ว เกิดการถ่ายเทความร้อน  ทำให้ไอน้ำในอากาศควบแน่นและเป็นน้ำแข็งเกาะ

                          ที่ท่อเมื่อทิ้งไว้นานๆ

ผลที่เกิดขึ้น   -  การที่น้ำยารั่ว ทำให้ระบบทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ สิ้นเปลืองไฟสูง

การแก้ไข       -  ซ่อมหารอยรั่วในระบบท่อ  และตรวจสอบปริมาณน้ำยาในระบบให้อยู่ตามมาตรฐานของผู้ผลิต

                            เครื่องปรับอากาศ

แอร์บ้าน

 

8. การขาดการบำรุงรักษาท่อน้ำยา

ปัญหา           -  ฉนวนหุ้มท่อน้ำยาเกิดการฉีกขาด

ผลที่เกิดขึ้น  -  ท่อน้ำยาเกิดความเสียหายได้ง่าย อาจผุกร่อนแตกหักได้  เกิดการควบแน่ที่ท่อน้ำยาและทำให้เกิดน้ำหยด

                          และสิ้นเปลืองไฟสูงขณะที่เครื่องทำงาน

การแก้ไข      -  หุ้มฉนวนใหม่ให้เรียบร้อย

                       -  ดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อฉนวนอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย

แอร์บ้าน

 

9. การหุ้มฉนวน

ปัญหา            -  การหุ้มฉนวนไม่ครอบคลุมถึงแป้นและก้านวาล์ว

ผลที่เกิดขึ้น   -   อาจเกิดหยดน้ำเกาะที่แป้นหรือก้านวาล์วได้

การแก้ไข       -  ทำการหุ้มฉนวนเพิ่มเติม

แอร์บ้าน

 

10. การชำรุดเสียหายของแผ่นฟ้าเพดานเมื่อเดินท่อน้ำยาบนฝ้า

ปัญหา              -  เกิดการควบแน่นของไอน้ำในอากาศ  ของท่อน้ำยาแล้วเกิดเป็นหยดน้ำทำให้แผ่นฝ้าเสียหาย

ผลที่เกิดขึ้น     -  เกิดเชื้อราจากความชื่นของหยดน้ำ  ซึ่งอาจเป็นอันตรายทางด้านสุขภาพ แผ่นฟ้าชำรุดเสียหาย

การแก้ไข         -  กรณีมีการรั่วซึมของท่อน้ำยาต้องบำรุงรักษาโดยทันที  เนื่อจากอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดหยุดน้ำเพิ่ม

                            มาขึ้น

แอร์บ้าน