แม็กเนติกคอนแทกเตอร์ แอร์บ้านคืออะไร
บริษัท พรชัยแอร์ สาขาดอนเมือง Tel : 02-9747679, 081-5810400, 089-6840267
แม็กเนติกคอนแทกเตอร์ แอร์บ้านคืออะไร
แมกเนติกคอนแทคเตอร์คือ..(เอาแบบง่ายและเข้าใจ) สวิตช์ทางไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เหมือนกับสวิตช์เปิด-ปิดไฟธรรมดานี่เองครับ ส่วนประกอบของ แม็คเนติกคอนแทกเตอร์ (Magnetic contactor) เป็นสวิตซ์อีกชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นขดลวดหรือคอยล์ ซึ่งเมื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าในขดลวดแล้วจะเกินสนามแม่เหล็กขึ้นและอีกส่วนหนึ่งเป็นหน้าสัมผัสของตัวแม็กเนติกคอนแทกเตอร์ ทำหน้าที่ดัดหรือต่อวงจรไฟฟ้ากำลังที่ป้องเข้าโหลด หลักการทำงานของแมกเนติกคอนแทกเตอร์ มีดังนี้ เมื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าในขดลวดจะเกิดสนามแม่เหน็กขึ้นรอบขดลวด มีอำนาจดูดเหล็กอมร์เมเจอร์ (armature) ซึ่งแกนเหล็กนี้ปลากข้างหนึ่งต่ออยู่กับหน้าสัมผัสเคลื่อนที่ (moving contact) และปลายอีกข้างหนึ่งวางอยู่บนสปริงซึ่งจะคอยผลักแกนเหล็กอาร์มาเจอร์ให้หน้าสัมผัสจาก เมื่อขดลวดเกิดสนามแม่เหล็กและมีอำนาจมากกว่าแรงดันสปริง แกนอาร์มาเจอร์จะถูกดูด ทำให้หน้าที่สัมผัสต่อกัน และเมื่อตัดกระแสไฟฟ้าที่ป้อนเข้าขดลวด อำนาจแม่เหล็กรอบขดลวดจะหมดไป แรงดันสปริงจะผลักแกนเหล็กอาร์มาเจอร์ให้หน้าสัมผัสจากออก หน้าสมัผัสของแมกเนติกคอนแทกเตอร์ในหนึ่งตัวอาจจะมีขั้วเพียงขั้วเดียว หรือ 2 ขั้ว หรือ 3 ขั้ว ก็ได้ และหน้าสัมผัสอาจเป็นแบบปกติเปิดทั้งหมด หรืออาจจะมีทั้งหน้าสัมผัสปกติเปิดและปกติปิดสลับกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบและวงจรการควบคุม
การเลือกแม็กเนติกคอนแทคเตอร์เพื่อใช้งานจะต้องคำนึงถึงหลักเบื้อต้นด้งนี้
1. ขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ป้อนเข้าขดลวดของแม็กเนติกคอนแทกเตอร์ จะมีขนาดดังนี้คือ 6 โวลด์ D, C, 12 โวลด์ D,C, 24 โวลด์ A.C., 200 โวลด์ A,C, และ 300 โวลด์ A,C, เป็นต้น
2. ขนาดการทนกระแสของหน้าสัมผัส จะขึ้นอยู่กับการเกินกระแสของโหลดที่ต้องการควบคุมซึ่งมีขนาดดังนี้คือ 20, 25, 30, 40, 50 และ 60 แอมปร์ หรือมากกว่าขึ้นไป เป็นต้น
3. จำนวนขั้วของหน้าสัมผัส จะขึ้นอยู่กับจำนวนสายไฟที่ต้องการควบคุมการตัด-ต่อ เช่น ถ้าต้องการตัดต่อวงจรที่มีสายไฟ 3 เส้นก็ต้องใช้หน้าสัมผัส 3 ขั้ว เป็นต้น
4. ชนิดของหน้าสัมผัสจะขึ้นอยู่กับโหลดที่ต้องการใช้งาน
รีเลย์ควบคุม
รีเลย์ควบคุม (control relay) มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับแม็กเนติกคอนแทกเตอร์ แต่มีข้อแตกต่างกันดังนี้
1. หน้าสัมผัสของรีเลย์ควบคุม จะทนกระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน 18 แอมแปร์ ในขณะที่หน้าสัมผัสของแม็กเนติกคอนแทกเตอร์จะทนกระแสไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 20 แอมแปร์ขึ้นไป
2. หน้าสัมผัสของแม็กเนติกคอนแทกเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบปกติปิด แต่หน้าสัมผัสของรีเลย์ควบคุมจะมีทั้งปกติเปิดและปกติปิด
3. หน้าสัมผัสของแม็กเนติกคอนแทกเตอร์จะทำหน้าที่ตัด ต่ดโหลดที่ต้องการกำลังสูง แต่หน้าสัมผัสของรีเลย์ควบคุมจะทำหน้าที่ตัด ต่อวงจรควบคุมเท่านั้น
รีเลย์
รีเลย์ (relay) ที่ใช้ในงานเครื่องทำความเย็นจะต่อเข้ากับวรจรมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ เพื่อทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าซึ่งเข้าเลี้ยงขดลวดสตาร์ตออกจากวงจรเมื่อมอเตอร์หมุนออกตัวได้แล้ว เช่นเดียวกับสวิตซ์แรงเหวี่ยงหนีศูนญ์ที่อยู่ภายในมอเตอร์ ซึ่งจะคอยตัดขดลวดสตาร์ตออกจากวงจรโดยอัตโนมัติ เมื่อมอเตอร์หมุนและมีความเร็วรอบตามเกณฑ์แล้ว แต่โดยที่มีมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบเฮอร์เมติกไม่สามารถติดตั้งสวิตซ์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์เข้าไว้ภายในตัวเรือนได้ จึงจำเป็นต้องใช้รีเลย์ต่อเข้ากับวงจรภายนอกทำหน้าที่แทน ซึ่งรีเลย์ที่พบใช้ในงานเครื่องทำความเย็นแบ่งออกได้ดังนี้
1. เคอร์เรนด์รีเลย์ (current relay)
2 ไพเทนเซียลรีเลย์ (potential relay)
3. ฮอตไวร์รีเลย์ (bot wire relay)
ตามปกติขดลวดสตาร์ดของมอเตอร์ควรจะไฟเลี้ยงในจังหวะสตาร์ตเพียงช่วงสั้นๆ ประมาณ 3-4 วินาที เพราะถ้าปล่อยให้กระแสไฟฟ้าผ่ายเข้าเลี้ยงขดลวดสตาร์ตนานเกินไป ขดลวดสตาร์ตอาจร้อนจัดทำให้เกิดอันตราต่อมอเตอร์ได้ ฉะนั้นในการทำงานที่ถูกต้อง รีเลย์ที่ใช้จะต้องให้ได้ขนาดพอดีกับมอเตอร์การซ่อมเปลี่ยนรีเลย์ใหม่จะต้องแน่ใจว่ารีเลย์ใหม่นี้มีขนาดและคุณสมบัติในการใช้งานเท่ากับรีเลย์ตัวเดิมเสมอ
1. เคอร์เรนต์รีเลย์ ใช้กับมอเตอร์แบบคาพาซิเตอร์สตาร์ต มีการทำงานโดยอาศัยการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อมีกระแสไหลผ่านขดลวดจะเกิดอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นรอบขดลวดนั้น หน้าสัมผัสของรีเลย์จะตัด-ต่อ โดยการเปลี่ยนแปลงของกระแสในขณะที่มีไฟผ่านเข้าเลี้ยงขดลวดรันและขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ ตามปกติหน้าสัมผัสของรีเลย์ชนิดนี้เป็นแบบปกติเปิดและต่อเป็นอนุกรมอยู่กับขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ ในช่วงจังหวะการสตาร์ตมอเตอร์ กระแสไฟฟ้าที่ผ่านขดลวดเข้าเลี้ยงขดลวดรันมีจำนวนสูง ทำให้เกิดอำนาจเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าสูงขึ้น ดูดเอาหน้าสัมผัสเข้าต่อกันและมีกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าเลี้ยงขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์สามารถหมุนออกตัวได้ เมื่อมอเตอร์หมุนออกตัวแล้ว ไฟที่เข้าขดลวดรันของมอเตอร์จะมีกระแสลดต่ำลงตามปกติ อำนาจการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าที่ขดลวดของรีเลย์ก็จะลดลงด้วย จนไม่สามารถที่จะดูดหน้าสัมผัสให้ต่อยู่ได้อีกต่อไป หน้าสัมผัสก็จะจากออก โดยอาศัยน้ำหนักของตัวเองตกลง (gravity) หรือโดยการทำงานของสปริง เป็นการตัดวงจรไฟที่เข้าเลี้ยงขอดลวดสตาร์ด คงเหลือไฟที่เข้าเลี้ยงขดลวดรันเพียงอย่างเดียวซึ่งเป็นการทำงานตามปกติของมอเตอร์
2. โพเทนเชียลรีเลย์ หรือรีเลย์ขดลวงแรงดัง (voltage coil relar) ใช้กับมอเตอร์ชนิดคาพาซิเตอร์สตาร์ดและมอเตอร์ชนิดคาพาซิเตอร์สตาร์ตและรัน รีเลย์ชนิดนี้แตกต่างจากเคอร์เรนต์รีเลย์ตรงที่ขดลวดของโพเทนเซียลรีเลย์เส้นเล็กและมีจำนวนรอบมากกว่าแบบเคอร์เรนด์ ตามปกติหน้าสัมผัสจะต่อกันอยู่ตลอดเวลา และต่อเป็นอนุกรมอยู่กับคาพาซิเตอร์สตาร์ตของวงจร ขณะที่มอเตอร์เริ่มออกตัวและความเร็บรอบของมอเตอร์เริ่มเร็วขึ้น ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าในขดลวดสตาร์ตจะสูงขึ้นจากค่าความต่างศักย์ปกติ (ประมาณ 150 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งมีผลเนื่องมาจากคาพาซิเตอร์สตาร์ตที่ต่อเป็นอนุกรมอยู่กับขดลวดนี้เป็นตัวทำให้ค่าความต่างศักย์สูงขึ้น เพื่อช่วยในการออกตัวของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ค่าความต่างศักดาไฟฟ้าสูงที่เกิดขึ้นในขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ จะเหนื่ยวนำให้เกิดกระแสสูงขึ้นไหลผ่านขดลวดของรีเลย์ เกิดอำนาจแม่เหล็กดูดเหล็กดันกระเดื่องเข้ามาติด เหล็กดันกระเดือนนี้จะมีกลไกดันให้หน้าสัมผัสของรีเลย์จากออกจากกัน สำหรับมอเตอร์แบบคาพาซิเตอร์สตาร์ต เมื่อหน้าสัมผัสของรีเลย์จากออกจะเป็นการตัดทั้งคาพาซิเตอร์สตาร์ตและขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ ออกจากวงจรทั้งคู่ ส่วนมอเตอร์แบบคาพาซิเตอร์และรัน เมื่อหน้าสัมผัสของรีเลย์ถูกจากออกจะเป็นตัดคาพาซิเตอร์สตาร์ตออกจากวงจรเท่านั้น
เมื่อมอเตอร์หมุนออกตัวแล้ว และหน้าสัมผัสของรีเลย์ถูกออกจาก ค่าความต่างศักดาไฟฟ้าที่ขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์จะลดลง แต่ยังคงมีค่าสูงพอที่จะเหนี่ยวนำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กดูดเหล็กดันกระเดื่องเข้ามาต่อ ดันให้หน้าสัมผัสของรีเลย์จากออกอยู่ตลอดเวลา จนกว่าจะหยุดมอเตอร์
3. ฮอตไวร์รีเลย์ หลักการทำงานของฮอตไวร์รีเลย์ขึ้นอยู่กับผลของความร้อนที่เกิดขึ้นกับลวดความร้อน (hot wier) ในขณะที่สตาร์ตมอเตอร์ กระแสจะสูงผ่านลดความร้อนเกิดการขยายตัว ทำให้หน้าสัมผัสของรีเลย์ที่ี่ต่อไปยังขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์จากออก ซึ่งเป็นการตัดขดลวดสตาร์ตออกจากวงจร
ฮอตไวร์รีเลย์ประกอบด้วยหน้าสัมผัส 2 ชุดคือ หน้าสัมผัส S ซึ่งต่อเป็นอนุกรมอยู่กับขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ และหน้าสัมผัส M ซึ่งต่อเป็นอนุกรมอยู่กับขดลวดของมอเตอร์ ตามปกติหน้าสัมผัสทั้งคู่ของรีเลย์ชนิดนี้จะต่อกันอยู่ ฉะนั้นในช่วงจังหวะสตาร์ตมอเตอร์ ทั้งขดลวดสตาร์ตและขดลวดรันจึงต่ออยู่วงจร ในช่วงจังหวะการสตาร์ตนี้กระแสจะสูงและผ่านลวดความร้อนทำให้เกิดการขยายตัว จึงเอาหน้าสัมผัส S ให้จากออก จึงเป็นการตัดขดลวดสตาร์ตออกจากวงจร ภายหลังจากที่ขดลวดสตาร์ตถูกตัดออกจากวงจรแล้ว
กระแสซึ่งผ่านลวดความร้อนและขดลวดรันของมอเตอร์ยังคงทำให้มอเตอร์หมุนตามปกติอยู่ และคงมีความร้อนเพียงพงที่จะดึงให้หน้าสัมผัส S จากอยู่ตลอดเวลาแต่ไม่มากพอที่จะขยายตัวจนหน้าสัมผัส M จากออก
แม็กเนติกคอนแทกเตอร์ แอร์บ้านคืออะไร
แมกเนติกคอนแทคเตอร์คือ..(เอาแบบง่ายและเข้าใจ) สวิตช์ทางไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เหมือนกับสวิตช์เปิด-ปิดไฟธรรมดานี่เองครับ ส่วนประกอบของ แม็คเนติกคอนแทกเตอร์ (Magnetic contactor) เป็นสวิตซ์อีกชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นขดลวดหรือคอยล์ ซึ่งเมื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าในขดลวดแล้วจะเกินสนามแม่เหล็กขึ้นและอีกส่วนหนึ่งเป็นหน้าสัมผัสของตัวแม็กเนติกคอนแทกเตอร์ ทำหน้าที่ดัดหรือต่อวงจรไฟฟ้ากำลังที่ป้องเข้าโหลด หลักการทำงานของแมกเนติกคอนแทกเตอร์ มีดังนี้ เมื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าในขดลวดจะเกิดสนามแม่เหน็กขึ้นรอบขดลวด มีอำนาจดูดเหล็กอมร์เมเจอร์ (armature) ซึ่งแกนเหล็กนี้ปลากข้างหนึ่งต่ออยู่กับหน้าสัมผัสเคลื่อนที่ (moving contact) และปลายอีกข้างหนึ่งวางอยู่บนสปริงซึ่งจะคอยผลักแกนเหล็กอาร์มาเจอร์ให้หน้าสัมผัสจาก เมื่อขดลวดเกิดสนามแม่เหล็กและมีอำนาจมากกว่าแรงดันสปริง แกนอาร์มาเจอร์จะถูกดูด ทำให้หน้าที่สัมผัสต่อกัน และเมื่อตัดกระแสไฟฟ้าที่ป้อนเข้าขดลวด อำนาจแม่เหล็กรอบขดลวดจะหมดไป แรงดันสปริงจะผลักแกนเหล็กอาร์มาเจอร์ให้หน้าสัมผัสจากออก หน้าสมัผัสของแมกเนติกคอนแทกเตอร์ในหนึ่งตัวอาจจะมีขั้วเพียงขั้วเดียว หรือ 2 ขั้ว หรือ 3 ขั้ว ก็ได้ และหน้าสัมผัสอาจเป็นแบบปกติเปิดทั้งหมด หรืออาจจะมีทั้งหน้าสัมผัสปกติเปิดและปกติปิดสลับกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบและวงจรการควบคุม
การเลือกแม็กเนติกคอนแทคเตอร์เพื่อใช้งานจะต้องคำนึงถึงหลักเบื้อต้นด้งนี้
1. ขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ป้อนเข้าขดลวดของแม็กเนติกคอนแทกเตอร์ จะมีขนาดดังนี้คือ 6 โวลด์ D, C, 12 โวลด์ D,C, 24 โวลด์ A.C., 200 โวลด์ A,C, และ 300 โวลด์ A,C, เป็นต้น
2. ขนาดการทนกระแสของหน้าสัมผัส จะขึ้นอยู่กับการเกินกระแสของโหลดที่ต้องการควบคุมซึ่งมีขนาดดังนี้คือ 20, 25, 30, 40, 50 และ 60 แอมปร์ หรือมากกว่าขึ้นไป เป็นต้น
3. จำนวนขั้วของหน้าสัมผัส จะขึ้นอยู่กับจำนวนสายไฟที่ต้องการควบคุมการตัด-ต่อ เช่น ถ้าต้องการตัดต่อวงจรที่มีสายไฟ 3 เส้นก็ต้องใช้หน้าสัมผัส 3 ขั้ว เป็นต้น
4. ชนิดของหน้าสัมผัสจะขึ้นอยู่กับโหลดที่ต้องการใช้งาน
รีเลย์ควบคุม
รีเลย์ควบคุม (control relay) มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับแม็กเนติกคอนแทกเตอร์ แต่มีข้อแตกต่างกันดังนี้
1. หน้าสัมผัสของรีเลย์ควบคุม จะทนกระแสไฟฟ้าได้ไม่เกิน 18 แอมแปร์ ในขณะที่หน้าสัมผัสของแม็กเนติกคอนแทกเตอร์จะทนกระแสไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 20 แอมแปร์ขึ้นไป
2. หน้าสัมผัสของแม็กเนติกคอนแทกเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบปกติปิด แต่หน้าสัมผัสของรีเลย์ควบคุมจะมีทั้งปกติเปิดและปกติปิด
3. หน้าสัมผัสของแม็กเนติกคอนแทกเตอร์จะทำหน้าที่ตัด ต่ดโหลดที่ต้องการกำลังสูง แต่หน้าสัมผัสของรีเลย์ควบคุมจะทำหน้าที่ตัด ต่อวงจรควบคุมเท่านั้น
รีเลย์ (relay) ที่ใช้ในงานเครื่องทำความเย็นจะต่อเข้ากับวรจรมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ เพื่อทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าซึ่งเข้าเลี้ยงขดลวดสตาร์ตออกจากวงจรเมื่อมอเตอร์หมุนออกตัวได้แล้ว เช่นเดียวกับสวิตซ์แรงเหวี่ยงหนีศูนญ์ที่อยู่ภายในมอเตอร์ ซึ่งจะคอยตัดขดลวดสตาร์ตออกจากวงจรโดยอัตโนมัติ เมื่อมอเตอร์หมุนและมีความเร็วรอบตามเกณฑ์แล้ว แต่โดยที่มีมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบเฮอร์เมติกไม่สามารถติดตั้งสวิตซ์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์เข้าไว้ภายในตัวเรือนได้ จึงจำเป็นต้องใช้รีเลย์ต่อเข้ากับวงจรภายนอกทำหน้าที่แทน ซึ่งรีเลย์ที่พบใช้ในงานเครื่องทำความเย็นแบ่งออกได้ดังนี้
1. เคอร์เรนด์รีเลย์ (current relay)
2 ไพเทนเซียลรีเลย์ (potential relay)
3. ฮอตไวร์รีเลย์ (bot wire relay)
ตามปกติขดลวดสตาร์ดของมอเตอร์ควรจะไฟเลี้ยงในจังหวะสตาร์ตเพียงช่วงสั้นๆ ประมาณ 3-4 วินาที เพราะถ้าปล่อยให้กระแสไฟฟ้าผ่ายเข้าเลี้ยงขดลวดสตาร์ตนานเกินไป ขดลวดสตาร์ตอาจร้อนจัดทำให้เกิดอันตราต่อมอเตอร์ได้ ฉะนั้นในการทำงานที่ถูกต้อง รีเลย์ที่ใช้จะต้องให้ได้ขนาดพอดีกับมอเตอร์การซ่อมเปลี่ยนรีเลย์ใหม่จะต้องแน่ใจว่ารีเลย์ใหม่นี้มีขนาดและคุณสมบัติในการใช้งานเท่ากับรีเลย์ตัวเดิมเสมอ
1. เคอร์เรนต์รีเลย์ ใช้กับมอเตอร์แบบคาพาซิเตอร์สตาร์ต มีการทำงานโดยอาศัยการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อมีกระแสไหลผ่านขดลวดจะเกิดอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นรอบขดลวดนั้น หน้าสัมผัสของรีเลย์จะตัด-ต่อ โดยการเปลี่ยนแปลงของกระแสในขณะที่มีไฟผ่านเข้าเลี้ยงขดลวดรันและขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ ตามปกติหน้าสัมผัสของรีเลย์ชนิดนี้เป็นแบบปกติเปิดและต่อเป็นอนุกรมอยู่กับขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ ในช่วงจังหวะการสตาร์ตมอเตอร์ กระแสไฟฟ้าที่ผ่านขดลวดเข้าเลี้ยงขดลวดรันมีจำนวนสูง ทำให้เกิดอำนาจเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าสูงขึ้น ดูดเอาหน้าสัมผัสเข้าต่อกันและมีกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าเลี้ยงขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์สามารถหมุนออกตัวได้ เมื่อมอเตอร์หมุนออกตัวแล้ว ไฟที่เข้าขดลวดรันของมอเตอร์จะมีกระแสลดต่ำลงตามปกติ อำนาจการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าที่ขดลวดของรีเลย์ก็จะลดลงด้วย จนไม่สามารถที่จะดูดหน้าสัมผัสให้ต่อยู่ได้อีกต่อไป หน้าสัมผัสก็จะจากออก โดยอาศัยน้ำหนักของตัวเองตกลง (gravity) หรือโดยการทำงานของสปริง เป็นการตัดวงจรไฟที่เข้าเลี้ยงขอดลวดสตาร์ด คงเหลือไฟที่เข้าเลี้ยงขดลวดรันเพียงอย่างเดียวซึ่งเป็นการทำงานตามปกติของมอเตอร์
2. โพเทนเชียลรีเลย์ หรือรีเลย์ขดลวงแรงดัง (voltage coil relar) ใช้กับมอเตอร์ชนิดคาพาซิเตอร์สตาร์ดและมอเตอร์ชนิดคาพาซิเตอร์สตาร์ตและรัน รีเลย์ชนิดนี้แตกต่างจากเคอร์เรนต์รีเลย์ตรงที่ขดลวดของโพเทนเซียลรีเลย์เส้นเล็กและมีจำนวนรอบมากกว่าแบบเคอร์เรนด์ ตามปกติหน้าสัมผัสจะต่อกันอยู่ตลอดเวลา และต่อเป็นอนุกรมอยู่กับคาพาซิเตอร์สตาร์ตของวงจร ขณะที่มอเตอร์เริ่มออกตัวและความเร็บรอบของมอเตอร์เริ่มเร็วขึ้น ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าในขดลวดสตาร์ตจะสูงขึ้นจากค่าความต่างศักย์ปกติ (ประมาณ 150 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งมีผลเนื่องมาจากคาพาซิเตอร์สตาร์ตที่ต่อเป็นอนุกรมอยู่กับขดลวดนี้เป็นตัวทำให้ค่าความต่างศักย์สูงขึ้น เพื่อช่วยในการออกตัวของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ค่าความต่างศักดาไฟฟ้าสูงที่เกิดขึ้นในขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ จะเหนื่ยวนำให้เกิดกระแสสูงขึ้นไหลผ่านขดลวดของรีเลย์ เกิดอำนาจแม่เหล็กดูดเหล็กดันกระเดื่องเข้ามาติด เหล็กดันกระเดือนนี้จะมีกลไกดันให้หน้าสัมผัสของรีเลย์จากออกจากกัน สำหรับมอเตอร์แบบคาพาซิเตอร์สตาร์ต เมื่อหน้าสัมผัสของรีเลย์จากออกจะเป็นการตัดทั้งคาพาซิเตอร์สตาร์ตและขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ ออกจากวงจรทั้งคู่ ส่วนมอเตอร์แบบคาพาซิเตอร์และรัน เมื่อหน้าสัมผัสของรีเลย์ถูกจากออกจะเป็นตัดคาพาซิเตอร์สตาร์ตออกจากวงจรเท่านั้น
เมื่อมอเตอร์หมุนออกตัวแล้ว และหน้าสัมผัสของรีเลย์ถูกออกจาก ค่าความต่างศักดาไฟฟ้าที่ขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์จะลดลง แต่ยังคงมีค่าสูงพอที่จะเหนี่ยวนำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กดูดเหล็กดันกระเดื่องเข้ามาต่อ ดันให้หน้าสัมผัสของรีเลย์จากออกอยู่ตลอดเวลา จนกว่าจะหยุดมอเตอร์
3. ฮอตไวร์รีเลย์ หลักการทำงานของฮอตไวร์รีเลย์ขึ้นอยู่กับผลของความร้อนที่เกิดขึ้นกับลวดความร้อน (hot wier) ในขณะที่สตาร์ตมอเตอร์ กระแสจะสูงผ่านลดความร้อนเกิดการขยายตัว ทำให้หน้าสัมผัสของรีเลย์ที่ี่ต่อไปยังขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์จากออก ซึ่งเป็นการตัดขดลวดสตาร์ตออกจากวงจร
ฮอตไวร์รีเลย์ประกอบด้วยหน้าสัมผัส 2 ชุดคือ หน้าสัมผัส S ซึ่งต่อเป็นอนุกรมอยู่กับขดลวดสตาร์ตของมอเตอร์ และหน้าสัมผัส M ซึ่งต่อเป็นอนุกรมอยู่กับขดลวดของมอเตอร์ ตามปกติหน้าสัมผัสทั้งคู่ของรีเลย์ชนิดนี้จะต่อกันอยู่ ฉะนั้นในช่วงจังหวะสตาร์ตมอเตอร์ ทั้งขดลวดสตาร์ตและขดลวดรันจึงต่ออยู่วงจร ในช่วงจังหวะการสตาร์ตนี้กระแสจะสูงและผ่านลวดความร้อนทำให้เกิดการขยายตัว จึงเอาหน้าสัมผัส S ให้จากออก จึงเป็นการตัดขดลวดสตาร์ตออกจากวงจร ภายหลังจากที่ขดลวดสตาร์ตถูกตัดออกจากวงจรแล้ว
กระแสซึ่งผ่านลวดความร้อนและขดลวดรันของมอเตอร์ยังคงทำให้มอเตอร์หมุนตามปกติอยู่ และคงมีความร้อนเพียงพงที่จะดึงให้หน้าสัมผัส S จากอยู่ตลอดเวลาแต่ไม่มากพอที่จะขยายตัวจนหน้าสัมผัส M จากออก